วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อารยธรรมยุคทองของอินเดีย

ราชวงศ์คุปตะ (Gupta Dynacty) (ค.ศ.320-ค.ศ.535)
      ราชวงศ์เริ่มแรกของอารยธรรมอินเดียสมัยกลางคือ  ราชวงศ์คุปตะ (Gupta Dynacty) ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ของชาวอินเดียที่พยายามขึ้นมามีอำนาจแทนราชวงศ์กุษาณะ  ทั้งนี้เนื่องจากพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 แห่งแคว้นมคธได้สถาปนาพระองค์เป็นผู้ครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคาและสามารถขับไล่พวกกุษาณะออกไป  ทรงขยายอาณาจักรออกไปจากแคว้นอัสสัมทางตะวันออกจนถึงที่ราบปัญจาบ พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะสร้างจักรวรรดิให้ใหญ่เท่าในสมัยราชวงศ์โมริยะ  ราชวงศ์คุปตะมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจมากที่สุดในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่2 (ค.ศ.375-ค.ศ.415) พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นี้ส่วนใหญ่จะรู้จักในนาม"พระเจ้าวิกรมาทิตย์"หรือ"พระเจ้าจันทรคุปต์วิกรมาทิตย์"สมัยของพระแงค์นับว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมอินเดีย (Golden  Age  of  India  Civilization)  กล่าวคือ อารยธรรมอินเดียมีความเจริญสูงสุดในทุกด้าน เช่น  ปรัชญา ศาสนาและความเชื่อ  วรรณคดี ศิลปะ  รวมทั้งวิทยาการสาขาต่างๆ
       ด้านการปกครอง  ราชวงศ์คุปตะมีเมืองหลวงอยู่ที่ปาฏลีบุตร  สมัยนี้ได้นำรูปแบบการปกครองสมัยราชวงศ์โมริยะมาใช้ในการปกครองอาจักร คือ ส่งข้าหลวงออกไปปกครองตามแคว้นต่างๆ  อำนาจของกษัตริย์สูงขึ้นทั้งนี้เพราะกษัตริย์มีฐานะเป็นสมมติเทพและเป็นเทพแห่งพิภพ  ซึ่งจะเห็นได้จากศิลาจารึกที่เมืองอัลลาหาบัดที่จารึกว่า พระเจ้าสมุทรคุปต์มีลักษณะเทียบเท่ากับท้าวกุเวร  ท้าววรุณ  พระอินทร์ และพระยม ซึ่งเป็นจตุโลกบาล  ดังนั้นกษัตริย์จึงมีอำนาจเด็ดขาด   สาเหตุที่มีความคิดลักษณะนี้ก็มาจากกษัตริย์ต้องทำหน้าที่ปกป้องอินเดียให้พ้นจากภัยของต่างชาติ  ดังนั้นจึงพยายามจัดการปกครองภายในประเทศให้มั่นคง  เพื่อเตรียมพร้อมป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก
      ส่วนการขยายอาณาเขต โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1  ทรงใช้นโยบายการแต่งงานเป็นการแสวงหาอำนาจ  กล่าวคือ  พระองค์ทรงอภิเษกกับพระธิดาแห่งแคว้นลิจฉวีซึ่งมีอำนาจมากในขณะนั้น  และในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2  ก็เช่นกัน  พระองค์ทรงขยายอาณาเขตด้วยการอภิเษกกับพระธิดาของกษัตริย์วากาฎะกัส(Vakatakas) ซึ่งปกครองมัธยมประเทศ  ขณะเดียวกันก็ทรงใช้นโยบายการรุกรานด้วยเช่นกัน  โดยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2  ได้ส่งกองทัพปราบปรามแคว้นเบงกอลและมณฑลของสกะทางตะวันตก ทำให้ทรงขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวาง  โดยทางเหนือขยายไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัยเลยไปจนถึงแถบดินแดนลุ่มแม่น้ำนราทา
          ด้านสังคม  หลักฐานของชาวต่างชาติที่เดินทางไปในอินเดียในยุคนี้ คือ หลวงจีนฟาเหียน (Fahien)ซึ่งท่านจาริกแแกจากจีนในปี ค.ศ.399 อยู่ในอินเดียเป็นเวลา 6 ปี (ค.ศ.405-ค.ศ.411)ในรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 ท่านได้เขียนพรรณนาความเจริญของอินเดียว่าพลเมืองร่ำรวยมีความสุข  ตามเมืองต่างๆ มีสุขศาลาหลายแห่ง สร้างโรงทาน มีการแจกอาหาร เครื่องดื่ม และยาให้แก่คนยากจนโดยไม่คิดเงิน ไม่มีคนดื่มสุรา และยาเสพติด ไม่บริโภคเนื้อสัตว์  การลงโทษทางอาญาไม่ใช้วิธีการลงโทษทางกายแต่จะลงโทษโดยการปรับเป็นเงินแทน และในระยะนี้สังคมได้ฟื้นฟูอารยธรรมของฮินดูที่เสื่อมโทรมมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โมริยะขึ้นมาอีกครั้ง
         สำหรับสถานะของสตรีในวรรณะสูงยังมีบทบาทอยู่มาก ในบางเขตสตรีมีบทบาทเด่นในด้านการปกครองและในบางเขตสตรีดำรงตำแหน่งข้าหลวงมณฑล
   

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความเจริญของอารยธรรมชนเผ่าเซมิติค



กลุ่มอารยธรรมชนเผ่าเซมิติค  ที่เข้ามาสร้างความเจริญในบริเวณดินแดนเมโสโปเตเมียที่สำคัญ  ได้แก่
         1.ชาวอัคคาเดียน   เป็นพวกเร่ร่อนเผ่าเซมิติคพวกแรกที่เข้ามาในเขตเมโสโปเตเมีย  เมื่อประมาณ 2400  ปีก่อนคริสต์ศักราช  ภายใต้การนำของพระเจ้าซาร์กอนที่ 1 (Sargon)  โดยเข้ายกทัพเข้ารุกรานและยึดครองนครรัฐทั้งหลายของชาวสุเมเรียนและขยายดินแดนไปจนถึงฝั่งตะวันออกของทะเลเมติเตอร์เรเนียน  ชาวอัคคาเดียนได้สถาปนาจักวรรดิอัลคาเดียนขึ้น  ซึ่งนับได้ว่าเป็นจักวรรดิแห่งแรกของโลกที่ปรากฏในประวัติศาสตร์และนับเป็นพื้นฐานในการตั้งจักวรรดิของมนุษย์ในยุคต่อมา  แต่จักวรรดิดังกล่าวนี้ดำรงอยู่ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง  หลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าชาร์กอนที่ 1  แล้ว  ชาวสุเมเรียนก้ยึดดินแดนคืนมาได้
               2.ชาวอมอไรต์   เป็นชนเผ่าเซมิติคอีกพวกหนึ่งที่อพยพมาจากทะเลทรายอาราเบีย  โดยได้ยกกำลังเข้ายึดครองนครรัฐของชาวสุเมเรียนและขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางเมื่อประมาณ 1750 ก่อนคริสตกาล  โดยมีผู้นำที่เข้มแข็งทรงพระนามว่า  ฮัมมูราบี  (Hammurabi)  ซึ่งต่อมาได้สถาปนาจักวรรดิบาบิโรเนียขึ้น  โดยมีนครบาบิโลน  (Babylon)  เป็นศูนย์กลางของจักวรรดิ
                จักพรรดิฮัมมูราบีทรงเป็นนักปกครองและนักบริหารที่ยอดเยี่ยมได้ทรงคิดค้นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างความเป็นระเบียบและความยุติธรรมให้แก่ดินแดนทั่วทั้งจักวรรดิ  เครื่องมือดังกล่าวนั้น  คือกฏหมายที่เขียนเป็นลายลักอักษร  วึ่งประมวลขึ้นจากจารีตประเพณีของพวกสุเมเรียนเดิมตลอดจนธรรมเนียมปฏิบัติของชนเผ่าเซมิติค  เรียกว่า  ประมวลกฏหมายฮัมบูราบี  (the Code of Hammurabi)  มีข้อบัญญัติต่างๆ  รวมทั้งสิ้นเกือบ  300  ข้อ   จารึกอยู่บนแท่งหินสีดำสูงประมาณ 8 ฟุต  จารึกด้วยตัวอักษรคิวนิฟอร์ม  ประมวลกฏหมายนี้ใช้หลักความคิดแบบแก้แค้นและตอบโต้อย่างตรงไปตรงมาที่เรียกว่า  "ตาต่อตาฟันต่อฟัน"  นอกจากนี้ยังว่าด้วยเรื่องต่างๆ  ในการปฏิบัติต่อกันของคนในสังคม  เช่น  เรื่องการค้าขายและประกอบอาชีพ  เรื่องทรัพย์สินที่ดิน  เรื่องการกินอยู่ระหว่างสามีภรรยาและการหย่าร้าง  เป็นต้น  ประมวลกฏหมายฉบับนี้นับว่าเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมของมนุษย์ในความพยายามที่จะจัดระเบียบภายในสังคมที่มีคนเข้ามาอยู่รวมกันแล้ว  นำระเบียบดังกล่าวเขียนลงไว้อย่างชัดเจน  ประมวลกฏหมายฮัมมูราบีจึงเป็นประมวลกฏหมายที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งเหลือตกค้างมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
จารึกประมวลกฏหมายฮัมมูราบี
                  จักวรรดิบาบิโลเนียนได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยจักวรรดิฮัมมูราบี  แต่หลังสมัยของพระองค์อาณาจักรที่เป็นปึกแผ่นอยู่เป็นเวลาเกือบหกร้อยปีค่อยๆเสื่อมลงจนในที่สุดถูกพวกชาวแคสไซต์ (Kassites)  เข้ามายึดครอง  ชาวแคสไซต์เป็นพวกอารยชนซึ่งไม่มีความสนใจในวัฒธรรมใดๆทั้งสิ้น  วัฒนธรรมเก่าแก่ของดินแดนแถบนี้เกือบจะต้องสลายไปอย่างสิ้นเชิง  ถ้าไม่มีชนเผ่าเซมิติคอีกพวกหนึ่งที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณภาคเหนือบนลุ่มแม่น้ำไทกริส  และชนกลุ่มนี้ได้มีการขยายอิทธิพลเรื่อยๆ  จนสามารถพิชิตพวกแคสไซต์ได้  ชนเผ่าเซมิติคดังกล่าวนี้คือชาวอัสซีเรียน
  3.ชาวอัสซีเรียน   เป็นชนเผ่าเซเมติคอีกพวหนึ่งในระยะแรกได้เริ่มตั้งถิ่นฐานและสร้างสรรค์อารยธรรมในบริเวณภาคเหนือของลุ่มแม่น้ำไทกริส  ประมาณ 1300 ปี  ก่อนคริสตกาล  ชาวอัสซีเรียนเริ่มทำการชยายอาณาเขต  และในไม่ช้าก็มีอำนาจครอบคลุมทางเหนือของหุบเขาทั้งหมด  ในศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาล  ชาวอัสซีเรียนได้โค่นอำนาจของพวกแคสไซต์ลงได้และสถาปนาจักวรรดิอัสซีเรียขึ้น  ชาวอัสซีเรียนได้ขึ้นชื่อว่า  เป็นพวกที่มีชื่อเสียงในความเก่งกล้าสามารถในการรบและความดึร้าย  ทำให้สามารถแผ่ขยายจักวรรดิออกไปอย่างกว้างขวางนับเป็นจักวรรดิแห่งแรกที่เจริญขึ้นในยุคเหล็ก  โดยได้ทิ้งินุสรณ์แห่งความโหดร้าย  ทารุณและความยิ่งใหญ่ไว้ในภาพแกะสลักนูนต่ำอันเป็นศิลปะวัตถุที่ยังคงอยู่มาจนถึงวันนี้  ซึ่งจักพรรดิที่ทรงอนุภาพคือ  แอสซูร์บานิปาล  ได้โปรดให้รวบรวมแผ่นดินเผาซึ่งบรรจุข้อเขียนด้วยตัวอักษรคิวนิฟอร์มไว้ในหอสมุดใหม่ที่กรุงนิเนอเวร์  ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักวรรดิ
           4.ชาวคาลเดียน  เป็นชนเผ่าเซมิติคสาขาหนึ่งที่พิชิตจักรวรรดิอัสซีเรียได้สำเร็จ  และได้สถาปนานครบาบิโลนขึ้นเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่ง  ชาวคาลเดียนได้เรียกชื่อจักรวรรดิใหม่นี้ว่า  บาบิโลนเนียใหม่
              ชาวคาลเดียนมีความเชื่อว่า  แต่เดิมดาวเคราะห์มีเพียง 5 ดวง  ได้แก่ ดาวพุทธ ดาวศุกร์  ดาวอังคาร  ดาวพฤหัสและดาวเสาร์  ซึ่งถือว่าเป็นพลังอันศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์  เมื่อรวมกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็น 7 ดวง  ก็จะเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ 7 องค์  ซึ่งวิชาการด้านดาราศาสตร์ของชาวคาลเดียนได้แพร่ไปยังชาวตะวันตกในเวลาต่อมา  ดังจะเห็นได้จากการตั้งชื่อวันก็ตั้งตามชื่อของดวงดาวบนท้องฟ้า  นอกจากนี้ชาวคาลเดียนสามารถหาเวลาที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลกเวลาเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา  รวมทั้งคำนวณความยาวของปีทั้งหมดได้อย่างแม่นยำ  ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของกรีกได้นำผลงานของชาวคาลเดียนมาใช้ในภายหลัง

          ในยุคอารยธรรมของจักพรรดิเนบูคัดเนสซาร์ทรงครองราชย์อยู่ระหว่างปี 604-561  ก่อนคริสตกาล  พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ชอบความหรูหราฟุ่มเฟื่อยโปรดให้ฟื้นฟูบูรณะนครบาบิโลนขึ้นใหม่  และตกแต่งระเบียบพระราชวังด้วยการปลูกต้นไม้ขึ้น  เพื่อให้คลุมหลังคาพระราชวังอย่างหนาแน่น  หลังคาที่ปลูกต้นไม้นี้เรียกว่า  สวนลอยแห่งบาบิโลน  วึ่งชาวกรีกนับเป็นสิ่งมหัสจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกที่มีผู้กล่าวถึงในยุคปัจจุบัน

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อารยธรรมสุเมเรียน


               ชนชาติสุเมเรียน  (Sumerian)  เป็นชนชาติแรกที่สร้างความเจริญขึ้นในบริเวณเมโสโปเตเมีย  ซึ่งเชื่อกันว่า  ชาวสุเมเรี่ยนได้อพยพมาจากที่ราบสูงอิหร่าน  และได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณตอนล่างสุดของลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสตรงส่วนที่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย  โดยเรียกบริเวณนี้ว่า  ซูเมอร์ (Sumer)  นักประวัติศาสตร์ถือว่า ซูเมอร์ คือ แหล่งกำเนิดของนครรัฐ (city-state) แห่งแรกของโลก  
             การตั้งถิ้นฐานเริ่มแรกของชาวสุเมเรียนนั้นเป็นเพียงหมูบ้านกสิกรรม  ต่อมาเมื่อรวมกันและได้มีการสร้างชลประทานขึ้น  ทำให้หมูบ้านได้รวมเป็นศูนย์กลางการปกครองในลักษณะของเมือง  เมืองที่สำคัญได้แก่  อิเรค (Erech) อิริดู (Eridu) เออร์  (Ur)  ลาร์ซา (Larsa)  ลากาซ (Lagash) อุมมา (Umma) นิปเปอร์ (Nippur) คิช (Kish)  เป็นต้น  เมืองต่างๆเหล่านี้มีฐานะเป็นศูนย์กลางของการปกครองที่ไม่ขึ้นต่อกันที่เรียกว่า  "นครรัฐ"  โดยแต่ละนครรัฐดูแลความเป็นอยู่ของคนในนครรัฐของตย

ความเจริญของอารยธรรมสุเมเรียน
                1.การปกครองในรูปแบบของนครรัฐ  ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุเมเรียนเริ่มแรกจากชีวิตแบบหมูบ้านเล็กๆ  ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นชีวิตในเมืองที่มีการปกครองในรูปแบบนครรัฐ  ระยะแรก  ชาวสุเมเรียนมีพระเป็นผู้ดูแลและควบคุมกิจการต่างๆในนครรัฐ  พระจะมีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและเป็นประมุขสูงสุด  เรียกว่า  ปะเตชี (Patesi)  ทำการปกครองในนามของพระเป็นเจ้า  ทำหน้าที่ควบคุมตั้งแต่การเก็บภาษี  ได้แก่  ข้าวปลาอาหาร  ตลอดจนควบคุมการดูแลเกี่ยวกับการชลประทานและการทำไล่ไถนา  ต่อมาเมื่อเกิดการแข่งขันและรบพุ่งระหว่างนครรัฐ  อำนาจการปกครองจึงมาอยู่ที่นักรบหรือกษัตริย์แทน  กษัตริย์จะมีตำแหน่งเรียกว่า  ลูกาล (Lugal)  ซึ่งเป็นผู้เข้มแข็งสามารถสู้รบป้องกันนครรัฐ  และทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจกรรมต่างๆแทนพระ   การปกครองแบบนครรัฐของชาวสุเมเรียนดังกล่าวนี้  นับได้ว่าเป็นนครรัฐแห่งแรกของโลก  และยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตั้งถิ่นฐานของอารยธรรมบาบิโลเนีย  อารยธรรมอัสซีเรียน อารยธรรมอิหร่าน  รวมทั้งอารยธรรมใกล้เคียงอย่างอียิปต์ด้วย
                       3,500 ปี ก่อนคริสตกาล  พวกสุเมเรียนได้สร้างอารยธรรมของตน  เมืองที่ก่อตัวขึ้นในเขตซูเมอร์ระยะนี้ได้แก่เมืองออร์  เมืองริเรค  เมืองอิริดู  เมืองลากาซ  และเมืองนิปเปอร์  เมืองเหล่านี้เป็นศูนย์กลางของระบบชลประทาน  โดยก่อตัวขึ้นได้สำเร็จเพราะประสิทธิภาพของระบบการจัดการน้ำ  เช่น  การเก็บกักและการระบายน้ำ  เมืองมีฐานะเป็นอิสระและเป็นศูนย์กลางของการปกครองที่ไม่ขึ้นตรงกันเรียกว่า  นครรัฐ


                 2.ด้านชลประทาน  ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่ได้สร้างระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูง  ทั้งนี้เนื่องจากถิ่นฐานที่ชาวสุเมเรียนรุ่นแรกได้สร้างล้านเรือนนั้น  ทั่วทั้งแผ่นดินปกคลุมด้วยบริเวณพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์  อันเกิดจากการทับถมของโคลนตมที่แม่น้ำพัดมา  พท้นดินดังกล่าวเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผลทางเกษตรแต่ที่ยากลำบากคือ  ปัญหาเรื่องน้ำ  เพราะบริเวณเมโสโปเตเมียเกือบจะเรียกได้ว่าฝนไม่ตกเลย  ทำให้พื้นที่ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำ  เป็นที่แห้งแล้งไม่เหมาะสมแก่การทำเพาะปลูก  ในขณะเดียวกันน้ำจะเอ่อขึ้นท่วมฝั่งทุกปี  ทำให้บริเวณที่อยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำชุ่มชื้น  แฉะ  น้ำขังเป็นเหมือนบึง  ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าพื้นที่บางแห่งชื้นแฉะเกินไป  บางแห่งแห้งแล้งเกินไป  ซึ่งชาวสุเมเรียนที่เข้ามาในระยะแรกได้เห็นปัญหาดังกล่าว  เมื่อพวกเขาได้ตัดสินใจตั้งรกรากในบริเวณนี้ก็จะต้องหาทางเอาชนะธรรมชาติ  ด้วยการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเพื่อให้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตของตนมากที่สุด   กล่าวคือในขั้นแรกชาวสุเมเรียนได้สร้างนบใหญ่ขึ้นสองฝากฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส  สร้างคลองระบายน้ำ  เขื่อนกั้นน้ำ  ประตูน้ำ  และอ่างเก็บน้ำ  เพื่อระบายน้ำออกไปให้ได้ไกลที่สุด  และเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ยามที่ต้องการ  วิธีการควบคุมน้ำและจัดระเบียบน้ำดังกล่าวคือระบบชลประทานครั้งแรกของโลก  ที่ชาวสุเมเรียนได้เป็นกลุ่มแรกที่ใช้งานระบบนี้
                  3.ด้านการเพาะปลูก   อารยธรรมสุเมเรียนมีความก้าวหน้ามาก  มีการใช้คันไถเทียมด้วยวัว    ทำให้สามารถหว่านไถได้เป็นวริเวณกว้างกว่าเดิม  ลำพังแต่การใช้จอบหรือเสียม  การเพาะปลูกเหมือนกับการทำสวนครัวในบ้าน  การประดิษฐ์คันไถเทียมด้วยวัวมีความสำคัญในแง่ที่ว่ามนุษย์เริ่มรู้จักใช้และควบคุมที่มาของพลังงาน  คือพลังงานของสัตว์นอกเหนือไปจากพลังงานที่มาจากตัวของมนุษย์เอง  นอกจากนี้ชาวสุเมเรียนยังประดิษฐ์เครื่องมือทางเกษตรดั้งเดิม  เช่น  เครื่องหยอดเมล็ดพืชซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่ในบางแห่งของโลก  เครื่องหยอดเมล็ดพืชทำงานโดยกรุยพื้นดินให้เป็นร่องก่อน  ต่อจากนั้นค่อยๆ หยอดเมล็ดพืชลงในร่องโดยผ่านทางกรวยเล็กๆ  เมื่อเมล็ดพืชลงไปอยู่ในดินแล้ว  คนบังคับเครื่องมือจะเดินย่ำกลบเป็นอันเสร็จกรรมวิธีหยอดเมล็ด  ชาวสุเมเรียนนอกจากจะประสบความสำเร็จในการเพาะปลูกแล้ว  หลักฐานทางโบราณคดียังบ่งชี้ว่าพวกสุเมเรียนนิยมเลี้ยงสัตว์  โดยมีการทำนมเนย  เนย  และผ้าขนสัตว์เป็นต้น
                 4.การเขียนตัวหนังสือ  อารยธรรมสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียที่รู้จักการเขียนหนังสือ  การเขียนตัวหนังสือของชาวสุเมเรียนจะใช้ไม้เสี้ยนปลายให้แหลมหรือใช้กระดูทำปลายให้มีลักษณะคล้ายรูปลิ่มกดลงบนแผ่นดินเหนียวที่ยังอ่อนอยู่ทำให้เกิดเป็นรอย  แล้วนำไปตากแดดให้แห้งหรือเผาไฟตัวอักษรชนิดนี้เรียกว่าตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือตัวอักษรรูปลิ่ม  และใช้ตัวอักษรนี้เขียนข้อความต่างๆ  ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเขียนตัวอักษรของกรีกและโรมันในสมัยต่อมา
                5.วรรณกรรม   ด้วยความสำเร็จในระบบการเขียนทำให้ชาวสุเมเรียนสามารถสร้างวรรณกรรมที่สำคัญเรื่องแรกของโลก  วึ่งรู้จักอย่างกว้างขวางและมีขนาดยาวที่ชื่อว่า  มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamehsepic) เขียนบนแผ่นดินเผาขนาดใหญ่  12 แผ่น  รวมด้วยกันทั้งสิ้น  3000 บรรทัด
                  6.ด้านคณิตศาสตร์   ชาวสุเมเรียนเป็นพวกแรกที่คิดค้นวิธีการคิดเลข  ทั้งการลบ  การบวก  และการคูณ  ชาวสุเมเรียนนิยมใช้หลัก  60  และหลักนี้เองถูกนำมาใช้ในเรื่องการนับเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน  รวมทั้งการแบ่งวงกลมออกเป็น  360 องศา (6 x 60) ด้วย
                 7.การสร้างระบบชั่งตวงวัดและปฏิทิน   ชาวสุเมเรียนรู้จักการใช้ระบบการชั่ง  ตวง  วัด  เป็นอย่างดี  มาตราชั่ง  ตวง  วัด  ของชาวสุเมเรียนแบ่งเป็น   เชคเคิล  (shekel)  มีน่า  (Mina)  และทาเลน  (talent)  โดยใช้หลัก 60 คือ 60 เชคเคิล เป็น 1 มีน่า ,  60 มีน่า เป็น 1 ทาเลน  สำหรับการสร้างปฏิทิน  พระชาวสุเมเรียนได้คิดค้นหลักใหญ่ของปฏิทินขึ้นเป็นครั้งแรก  ทั้งนี้โดยอาศัยการเฝ้าสังเกตการโคจรของดวงจันทร์  ปฏิทินของชาวสุเมเรียนเป็นปฏิทินแบบจันทรคติ  ปีหนึ่งมี  12 เดือน  เดือนหนึ่งมี 29 1/2 วัน  ปีของชาวสุเมเรียนจึงมีเพียง  354  วัน  วึ่งคลาดเคลื่อนกับปีตามแบบสุริยคติซึ่งมี 365 1/4 วัน  เดือนของชาวสุเมเรียนแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 7 - 8 วัน  วันหนึ่งแบ่งออกเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง และกลางคืน 6 ชั่วโมง  (1 ชั่วโมงเทียบเท่า 2 ชั่วโมงในปัจจุบัน)
ซิกกูแรต สมัยอาะยธรรมมุเมเรียน


                     8.ด้านสถาปัตยกรรม   ชาวสุเมเรียนได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มการใช้อิฐในการก่อสร้างอย่างกว้างขวาง  โดยมีการทำอิฐขึ้นจากดินเหนียว  วึ่งมีอยู่มากมายโดยการใช้แทนหินวึ่งเป็นของหายาก  อิฐของสุเมเรียนมี 2 ประเภท  คือ  ประเภทตากแห้ง และประเภทอบความร้อนหรือเผาไฟชนิดแรกจะไม่ทนความชื้น  ใช้ในการก่อสร้างอาคารส่วนที่ไม่กระทบต่อความชื้นแฉะ  อิฐชนิดอบความร้อนหรือเผาจะทนความชื้นได้ดี  ใช้ก่อส่วนล่างของอาคาร  เช่น  ยกพื้นฐานรากและกำแพงเป็นต้น  การพัฒนาอิฐจนมีคุณภาพดี  ทำให้ชาวสุเมเรียนได้สร้างนครรัฐของตนขึ้น  โดยสร้างกำแพงอิฐขึ้นล้อมรอบบริเวณที่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของนครรัฐ  ได้แก่  บริเวณที่เป็นวัดหรือที่ศักดิ์สิทธิ์  อันเป็นที่ประทับของพระเป็นเจ้า  ตรงมุมด้านหนึ่งของบริเวณอันศักดิ์สิทธิ์มีสิ่งก่อสร้างที่มีรูปร่างคล้ายๆ  พีระมิดของอียิปต์  เรียกว่า  ซิกกูแรต (Ziggurat)  หรือ  "หอคอยระฟ้า"  สร้างเป็นหอสูง  ขนาดใหญ่  ลดหลั่นเป็น 3 ระดับ  ยอดบนสุดเป็นวิหารเทพเจ้าสูงสุดประจำนครรัฐ  เบื้องล่างถัดจาก "หอคอยระฟ้า"  ลงมาเป็นที่ตั้งของวัดวาอาราม  พระราชวังของกษัตริย์  สุสานหลวง  ที่ทำการตามความนึกคิดของพวกสุเมเรียน  ชาวสุเมเรียนบูชาเทพเจ้าหลายองค์  และแต่ละนครรัญจะมีพระเป็นเจ้า  ผู้เป็นองค์อุปถัมภ์นครรัฐนั้น  โดยเฉพาะประทับอยู่ ณ วัดใหญ่ที่เรียกว่า  ซิกกูแรต  ประชาชนมีหน้าที่ดุแลทำนุบำรุงวัดในรูปของภาษีหรือเครื่องพลีซึ่งนำมาถวายวัดผ่านทางพระหรือนักบวชผู้มีหน้าที่ดูแล

ขับเคลื่อนโดย Blogger.