วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การรับอารยธรรมจากภายนอก

              ดินแดนตะวันออกเฉียงใต้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนอารธรรมกับภายในมาช้านาน  ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  อย่างไรก็ตาม  หากพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานทางด้านโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  การติดต่อแลกเปลี่ยนอารธรรมกับภายนอกในดินแดนดังกล่าวเกิดขึ้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 2-3  อารธรรมที่เข้ามามีบทบาทในตะวันออกเฉียงใต้  มีดังนี้

1.อารธรรมอินเดีย
              การติดต่อระหว่างเมืองท่าตามฝั่งทะเลตะวันตกของตะวันออกเฉียงใต้กับอินเดียอาจมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ซึ่งการติดต่อนั้นมีทั้งคนอินเดียเดินทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และในทำนองเดียวกันคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก้เดินทางไปยังอินเดียเช่นกัน  การติดต่อระหว่างคนสองอารธรรมได้ดำเนินเรื่อยๆมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 2-3  คนสองดินแดนนี้มีการติดต่อกันมากขึ้น โดยพบหลักฐานทางด้านวรรณคดี  คือ ศิลาจารึกภาษาสันสกฤต  และพระพุทธรูปศิลปะอมราวดีทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย  การรับอารธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เป็นไปอย่างช้าๆ  แต่ฝังรากลึกลงในดินแดนแถบนี้จนกระทั่งปัจจุบัน
               หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการติดต่อระหว่างอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีทั้งจากหลักฐานที่พบภายในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหลักฐานจากภายนอก  ดังนี้
                1.หลักฐานภายใน  ที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีหลักฐานที่เป็นจารึกเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันศรีเกษตร  ทวารวดี  เรื่อยไปจนถึงอาณาจักต่างๆ  ในแหลมมลายู  จารึกเหล่านี้ส่วนใหญ่เขียนเป็นภาาาสันสกฤต  ด้วยตัวอักษาสมัยราชวงศ์ปัลลวะ  ซึ่งมีอายุอยู่ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 นอกจากนี้ยังพบอิทธิพลของตัวอักษาสมัยก่อนนาครีจากแคว้นเบงกอลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย  แพร่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในช่วง ค.ศ.707-807 ด้วย
                  2.หลักฐานภายนอก  มีดังนี้
                              (1) หลักฐานอินเดีย  วรรณคดีของอินเดีย  และชาดกในพุทธศาสนา  รวมถึงนิทานของอินเดียสมัยโบราณ  มีการกล่าวถึงชื่อที่มีนัยยะหมายถึงดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เช่น  วรรณคดีเรื่องรามายณะ  กล่าวถึง "ยวทวีป"  ซึ่งหมายถึง  เกาะเงินเกาะทอง  นักวิชาการสันนิษฐานว่า  "ยวทวีป"  คือ เกาะชวาและสุมาตรา  นอกจากนี้ในคัมภีร์อรรถศาสตร์  ได้มีการกล่าวถึง  เรื่องราวการอพยพชาวอินเดียวไปยังดินแดนแห่งใหม่  และดินแดนแห่งนั้นสันนิษฐานว่า  คือ  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ข้อมูลนี้ดูจะสอดคล้องกับหลักฐานประเภทเรื่องเล่าพื้นบ้านของอาณาจักรขอมโบราณที่กล่าวว่า  พราหมณ์อินเดียได้เดินทางทางทะเล  และมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นอาณาจักรฟูนัน
                                (2) หลักฐานจีน  จดหมายจีนได้เล่าเรื่องราวที่แสดงถึงการติดต่อระหว่างอินเดียวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งกล่าวว่า  มีพราหมณ์ชื่อโกฑินยะ  ได้เดินทางมายังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 1-2 และแต่งงานกับหญิงชาวพื้นเมือง
                                 (3) หลักฐานโรมัน  เช่นหนังสือเรื่อง  ภิมิศาสตร์ วึ่งเขียนเมื่อประมาณ ค.ศ. 165 ของปโตเลมี   (Ptolemy) ในหนังสือแสดงให้เห็นลักษณะเด่นๆ  ของผืนแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างชัดเจน
                 

2.อารธรรมจีน
             หลักฐานเอกสารของจีนได้ให้ข้อมูลว่า  ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการติดต่อกับชาวจีนอย่างช้าที่สุดก็ในคริสต์ศตวรรษที่ 1-2 ซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงกับการที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับอินเดีย  แม้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้ติดต่อกับจีนในเวลาที่ใกล้เคียงกับอินเดียก็ตาม  แต่ดูเหมือนว่าการแพร่กระจายของอารธรรมจากจีนจำกัดกว่าอารธรรมอินเดีย  ประเด็นนี้  หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ  ทรงชี้แจงให้เหตุผลไว้ว่า  อาจจะเนื่องจากว่าประเทศจีนแผ่อารธรรมไปพร้อมกับการชนายอำนาจ  อีกทั้งต้องการให้ชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับรองอำนาจอันยิ่งใหญ่ของตนด้วยการส่งบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน  ดังนั้นอารธรรมจีนที่แผ่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จีงอยู่ในวงจำกัด
                     อารธรรมจีนที่แพร่เข้ามาในเอเชียตะวันออกนั้นดูเหมือนจะมีอิทธิพลในอาณาจักรลินยี่  ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอาณาจักรจัมปา (ในดินแดนเวียดนามปัจจุบัน)  เนื่องจากอาณาจักรลินยี่มีการติดต่อกับจีนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว

3.อารธรรมอิหร่าน
               อารธรรมอิหร่านเจริญรุ่งเรืองขึ้นในบริเวณดินแดนของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน  ชาวเปอร์เซียเข้ามาค้าขายในดินแดนเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นระยะเวลานานกว่าพันปี  ทั้งนี้นักวิชาการบางคนเชื่อว่าชาวอิหร่านเข้ามาแถบนี้อย่างช้าก้คริสต?ศตวรรษที่ 7 เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางภาษา  พบว่า  ข้อความในจารึกที่ 1  จารึกพ่อขุนรามคำแหง  มีคำว่า  ตลาดปสาน  ซึ่งสันนิษฐานว่า  มาจากคำในภาษาอิหร่านว่า บาซาร์  หลักฐานจากจารึกดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงอารธรรมอิหร่านที่แพร่เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                         

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.