วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดอารยธรรม


ปัจจัยที่ 1 สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
                สถาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เป็นปัยจัยสำคัญโดยตรงปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษย์ขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยโบราณ  สังคมสมัยนั้นมีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรม  ดังนั้นธรรมชาติจึงมีอิทธิพลเหนือชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์  หลายแห่งได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของธรรมชาติว่ามีผลต่อความเจริญของอารยธรรม มนุษย์อย่างมาก  ดังจะเห็นได้ว่าอารยธรรมสำคัญๆที่เกิดขึ้นในสมัยโบราณ  เช่น  อารยธรรมเมโสโปเตเมีย  ตั้งอยู่บนดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ในลุ่มแม่น้ำไกริสและยูเฟรติส  อารยธรรมอียิปต์ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์  อารยธรรมอินเดียตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ  อารยธรรมจีนตั้งอยู่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห  อารยธรรมกรีกและอารยธรรมโรมันตั้งอยู่บริเวณริมคาบสมุทร  เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าอารยธรรมโบราณดังกล่าวเกิดขึ้นในสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีความเหมาะสม  ซึ่งอาจเป็นวริเวณที่ราบใกล้ภูเขา  ที่ราบลุ่มแม่น้ำ  หรือบริเวณที่ที่มีความเหมาะสมกับการเพาะปลูก  โดยการเลือกตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เหมาะสมนี้จะช่วยให้ชุมชนนั้นเกิดการพัฒนาจนถึงขั้นมีการสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นได้
              นอกจากนี้นักภูมิศาสตร์ชาวอมเริกันชื่อ ดร.เอลล์สเวอร์ธ ฮันตินตัน  (Dr.Ellsworth Huntinton) ได้นำทฏษฏีภูมิศาสตร์  มาอธิบายว่า  สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เป็นปัยจัยที่ช่วยเสริมสร้างอารยธรรมได้อย่างไร  โดยได้สนับสนุนความเชื่อดั้งเดิมของนักแราชญ์ในสมัยโบราญ  คือ อริสโตเติล  ที่ว่าปัยจัยอื่นอาจมีความสำคัญเหมือนกันในการสร้างอารยธรรม  แต่ไม่ว่าชาติใด  ไม่ว่าจะสมัยปัจจุบันหรือสมัยโบราณก็จะไม่สามารถสร้างสมวัฒนธรรมของตนได้สูงสุด  ถ้าปราศจากสิ่งแวดล้อมที่ดี  นั่นหมายถึงต้องมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม  ขณะเดียวกันยังกล่าวอีกว่า  อุณหภูมิที่เหมาะสมในการตั้งถิ่นฐาน  จะต้องไม่อยู่ในเขตอากาศแปรปวน  เช่น  ในเขตพายุหมุน  อากาศมักจะเปลี่ยนแปลงเสมอ  เขตที่อากาศร้อนเกินไป  หนาวเกินไป  หรือแห้งแล้งเกินไป  จะมีคนเข้าไปอาศัยอยู่น้อย  เช่น  ในบริเวณอาร์กติก  บริเวณทะเลทราย  ป่าดิบอินเดีย  อเมริกากลาง  และบราซิล เป็นต้น
              ดังนั้นปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์  จึงเป็นปัจจัยสำคัญโดยตรงปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษย์ขึ้น

ปัจจัยที่ 2 ระบบการเมืองการปกครอง
               มนุษย์เมื่อมีการตั้งบ้านเมืองเป็นหลักแหล่งแล้ว  ความจำเป็นในการสร้างอารยธรรมต่อมาคือ  จะต้องมีการจัดการชุมชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น  เช่น  การจัดการระบบชลประทาน  การใช้ที่ดิน  ทำให้ต้องมีหัวหน้าในการออกกฏข้อบังคับ  และระบบการปกครองเพื่อให้เกิดความสงบสุขและความปลอดภัยในสังคม  การปกครองนี้ได้เริ่มขึ้นภายในครอบครัวก่อนแล้วขยายวงกว้างออกไปเป็นครอบครัวต่างๆ  จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่  เนื่องจากสังคมที่ซับซ้อนขึ้นทำให้ต้องมีการพัฒนาการปกครองตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมจนปัจจุบัน
              มนุษย์ได้พัฒนาระบบการปกครองของแต่ละยุคแต่ละสมัยแตกต่างกันตามสภาพสังคมในแต่ละสมัย  เช่น  มีการพัฒนาจากหัวหน้าครอบครัวเป็นการปกครองระบบพ่อเมือง (Patriachy) ระบบราชาธิปไตย (Monarchy)  และระบบประชาธิปไตย (Democracy)  และในบางสังคมก็เกิดระบบคณาธิปไตย (Oligarchy)  ระบบทรราชย์ (Tyrany)  ระบบเผด็จการ  (Dictatorship) หรือเกิดลัทธิการเมือง  เช่น ลัทธิฟาสซิสม์ (Fascism)  ลัทธินาชี (Nazism) และลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) เป็นต้น

ปัจจัยที่ 3 ความเจริญทางเทคโนโลยี
               ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างอารยธรรมของมนุษย์  โดยในแต่ละยุคแต่ละสมัยมักจะมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีก้เท่ากับว่า  เป็นการเปลี่ยนแปลงอารยธรรมในแต่ละยุคแต่ละสมัยด้วยเช่นกัน
              เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคับที่ก่อให้เกิดอารยธรรมของมนุษย์  กล่าวคือ  ในยุคก่อนประวัติศาสตร์  เทคโนโลยีของมนุษย์ยังคงเป็นแบบง่ายๆ   แต่ภายหลังเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้น  ซึ่งเทคโนโลยีแบบใหม่นี้มักเกิดขึ้นจากที่มนุษย์พยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ  เพื่อสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมบุรณ์  ดังนั้นมนุษย์จึงพยายามขวนขวายหาวิธีที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติหรือบางแห่งต้องหาวิธีเอาชนะธรรมชาติในทุกด้าน  ความพยายามทั้งสองประการนี้ก่อให้เกิดการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ  เชน  เทคโนโลยีในด้านเกษตร  ซึ่งในบางท้องที่เกิดน้ำท่วม  เกิดความแห้งแล้ง  ก็ต้องมีการพัฒนาระบบชลประทานเพื่อประโยชน์ในการเกษตรและการประมง  บางท้องที่ต้องเรียนรู้วิธีการนำเหล็กมาใช้เพื่อทำคันไถและทำอาวุธ  หรือตัดไม้เพื่อบุกเบิกพื้นที่ทางการเกษตรหรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร  นอกจากนี้ในท้องที่ที่เป็นทะเลทราย  มนุษย์ยังสามารถปรับปรุงที่ดิน  ให้สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้  ส่วนด้านการประมง  แรกเริ่มมนุษย์ใช้กระดูกสัตว์ทำคันเบ็ด  ต่อมาก้เริ่มพัฒนาเครื่องมือจับสัตว์  เช่น  แห อวน และเรือ  เป็นต้น  ขณะที่เทคโนโลยีทางด้านขนส่งและการคมนาคม   เริ่มแรกมนุษย์รู้จักการใช้ม้าเป็นพาหนะวึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีได้อย่างชัดเจน  และทำให้เมืองในอดีตได้ขยายตัวและมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมากตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง  เทคโนโลยีด้านอาวุธ  เทคโนโลยีด้านเครื่องมือเครื่องใช้  เทคโนโลยีสาธารณสุข ฯลฯ
                จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นในยุคต่างๆ  เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการความเจริญและการสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษย์

ปัจจัยที่ 4 การเจริญเติบโตของสังคัมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
                มนุษย์เมื่อมีการรวมตัวเป็นชุมชน  โดยการรวมตัวขั้นแรกอาจเป็นเพียงหมู่บ้านหรือเมืองขนาดเล็ก  ภายหลังจึงขยายเป็นชุมชนขนาดใหญ่  วึ่งการรวมตัวกันของมนุษย์นั้นนอกจากเพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แล้ว  ยังทำให้มนุษย์สามารถประดิษฐ์สิ่งต่างๆขั้นได้อีกด้วย  ที่สำคัญเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ไฟ  ทำให้มนุษย์เริ่มมีเวลาเพิ่มมากขึ้น  กล่าวคือก่อนที่จะรู้จักการใช้ไฟมนุษย์จะทำงานเฉพาะเวลากลางวัน  พอกลางคืนก็ไม่สามารถทำอะไรได้อีกเนื่องจากไม่มีแสงสว่าง  แต่เมื่อมนุษย์รู้จักการใช้ไฟทำให้มนุษย์สามารถทำงานเพิ่มขึ้นในตอนกลางคืน  โดยที่กลางวันยังคงทำไร่ ทำนาและเลี้ยงสัตว์  พอกลางคืนก้เริ่มมีงานประดิษฐ์งานฝีมือต่างๆ เช่นทอผ้า  ทำเครื่องมือเครื่องใช้  และที่สำคัญทำให้เกิดการพัฒนาความคิดต่างๆขึ้น
               การรวมตัวกันของมนุษย์ยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางสังคม  กล่าวคือช่วยทำให้มนุษย์เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในด้านสาธารณประโยชน์  เช่น  การช่วยกันดูแลระบบชลประทาน  การช่วยป้องกันตนเอง  ก่อให้เกิดการแบ่งแยกแรงงานและเกิดกลุ่มอาชีพเฉพาะขึ้นในสังคม  เช่น  ชาวนา  ชาวไร่  ช่างประเภทต่างๆ  พ่อค้า  เจ้าพนักงาน  นักรบ  นักบวช  ตลอดจนทาสและกรรมการ ฯลฯ  การที่มนุษย์เริ่มมีการรวมตัวเป็นสังคมในลักษณะนี้จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบขึ้นในกลุ่มเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมนุษย์ที่อยู่รวมกันภายในกลุ่มของตน  นอกจากนี้ยังมีการออกกฏหมายเพื่อตัดสินคดี  มีการเลือกผู้นำ  มีการสร้างสถาบันต่างๆ ขึ้นมาเพื่อสะดวกในการปกครอง  มีการวางแผนจัดการในเรื่องต่างๆเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความเจริญขึ้นในสังคมอารยธรรมของมนุษย์

ปัจจัยที่ 5 การชยายตัวทางเศรษฐกิจ
               การขยายตัวทางเศรษฐกิจเกิดจากความต้องการปัจจัยสี่ของมนุษย์  ซึ่งก้คืออาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  และยารักษาโรค  ความจำเป็นเหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้มนุษย์ต้องขวนขวายแสวงหาปัจจัยเหล่านี้จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่  มนุษย์ต้องต่อสู้กับธรรมชาติ  ต้องฝึกสัตว์ป่าให้เชื่องเพื่อนำมาใช้งาน  ต้องปลูกพืชไว้เพื่อบริโภค  โดยมนุษย์ต้องต่อสู้กับสิ่งต่างๆ  ก็เพื่อสนองความต้องการที่เรียกว่าปัจจัยสี่นั่นเอง  แต่ต่อมาเมื่อความต้องการภายในครอบครัวขยายขึ้น  ทำให้มนุษย์ต้องแสวงหาสิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย  กล่าวคือ  เมื่อมนุษย์พ้นสภาพของการล่าสัตว์  เริ่มตั้งถิ่นฐานอยู่กับที่  เริ่มมีประชากรมาอาศัยอยู่รวมกันมากขึ้น  มีการเปลี่ยนแปลงแรงงานที่ชัดเจน  สิ่งเหล่านี้ทำให้ความต้องการปัจจัยสี่ของมนุษย์มีเพิ่มมากขึ้น  ทำให้มนุษย์มีความจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนแาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ตลอดจนการจัดให้มีบริการในรูปแบบต่างๆ  ซึ่งทำให้เกิดศูนย์กลางเพื่อดำเนินกิจกรรมดังกล่าว  เรียกว่า "ตลาด" เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสิ่งของ  และเมื่อการแลกเปลี่ยนมีจำนวนมากขึ้นจึงเกิดการคิดมูลค่าของสิ่งของเป็นจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขอย่างมีระบบขึ้นมา  โดยการซื้อขายแลกเปลี่ยนนี้ทำให้การเมืองในเวลานี้มีบทบาทในฐานะเป้นศูนย์กลางที่ขยายตัวไปพร้อมๆกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
              นอกจากนี้เมืองต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่ตามเส้นทางการค้าหรือชุมชนทางการค้ายังได้กลายเป็นแหล่งอารยธรรมแห่งใหม่ เช่น  เมืองเวนิช  เจนัว  ปิซา เป็นต้น  และจากการที่เมืองดังกล่าวเป็นเมืองที่มีการค้าขายข้ามแดนในระดับภูมิภาคนั้นได้นำมาซึ่งการติดต่อค้าขายระหว่างแปล่งต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันทางอารยธรรม  จึงเป็นเหตุให้อารยธรรมจากดินแดนต่างๆ  มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนหรือแผ่ขยายอารยธรรมตนไปยังดินแดนอื่นๆ

ปัจจัยที่ 6 ความเชื่่อและศาสนา
                ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์มีหลายด้าน  นอกจากความต้องการภายนอกในด้านต่างๆ  ที่กล่าวมาแล้ว  มนุษย์ยังคงต้องการความมั่นคงทางจิตใจ  เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและอยู่รอดปลอดภัย  มนุษย์จึงจำเป็นต้องแสวงหาความผูกพันกับอำนาจเหนือธรรมชาติ  หรือสิ่งที่ปราศจากตัวตนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้  แต่เชื่อว่าสามารถปกป้องคุ้มครองตนเองได้  การแสดงออกในการแสวงหาความมั่นคงทางจิตใจนี้มีลักษณะต่างกันตั้งแต่สมัยโบราณถึงสมัยปัจจุบัน  วึ่งในช่วงเวลาอันยาวนานที่ผ่านมา  มนุษย์ค้นพบว่า  ศาสนาและความเชื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่ความมั่นคงทางจิตใจ ดังนั้น  ศาสนาจึงเป็นผลของความต้องการทางจิตใจ  การแสดงออกซึ่งความคิด  และความเชื่อของมนุษย์
               ขณะเดียวกันมนุษย์จะมีความอ่อนแอในตนเอง  ทำให้ศาสนาและความเชื่อเป็นสิ่งที่สนองความต้องการที่มนุษย์จะขาดเสียมิได้  มนุษย์ต้องการที่พึ่ง  ต้องการเครื่องยึดเหนี่ยวเพื่อให้ชีวิตมั่นคง  เมื่อมนุษย์เห็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติก็พยายามแสวงหาเหตุผลที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เหล่านั้น เมื่อได้คำตอบที่ตนพอใจ  ก้มักจะยึดถือเชื่อมั่น  ในขั้นแรกนี้อาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล  ต่อมาเมื่อผู้อื่นเห็นว่าดีก้นำมาปฏิบัติเป็นหลักการเดียวกันมากขึ้นจนเกิดเป็นลัทธิศาสนา  มีกฏข้อบังคับ  พิธีกรรม  เกิดประเพณีต่างๆ ขึ้นมา  เช่น  เกิดการบูชาเทพเจ้า  บทสวดสถาที่บูชาเทพเจ้า  เกิดพิธีกรรมต่างๆ  เกิดเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธี  และเกิดงานศิลปะที่เกี่ยวกับเทพเจ้าที่นับถือเพื่อเป็นการบูชาและแสดงความเคารพในสิ่งที่มนุษย์จิตนาการขึ้น  โดยแสดงวามรู้สึกนึกคิดของตนออกมาในลักษณะรูปธรรมต่างๆ  เช่น  ศิลปกรรม  สถาปัตยกรรม  วรรณคดี  และดนตรี  นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องยึดเหนื่ยวจิตใจของมนุษย์ให้หลุดพ้นจากความกลัว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.